Thursday, January 28, 2010

ThaiLis ขุมทรัพย์งานวิจัย

หายไปนาน..จะบอกว่าไม่ว่างก็คงไม่ใช่ เอาเป็นว่ามีเรื่องต้องรับผิดชอบหลายอย่าง
ช่วงนี้กำลังดูโครงงานให้นักศึกษา แล้วต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล
หรือสืบค้นหาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้นักศึกษาค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
ที่ไม่ใช่ Google เด็กนึกไม่ออกว่าจะใช้เว็บไซต์ไหน
ไม่ทราบว่ามีใครเคยลองเข้าไปใช้เว็บของ ThaiLis บ้างหรึยังค่ะ
ถ้าเป็นอาจารย์หรือนักวิจัยคงจะคุ้นเคยกับเว็บนี้ดีอยู่นะคะ


http://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php เป็นเว็บไซต์ในโครงการ
Thai Digital Content รวบรวมวิทยานิพนธ์ บทความงานวิจัยของอาจารย์
นักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย
สามารถอ่านเอกสารฉบับสมบูรณ์ได้แต่ต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อนนะคะ
การสมัครก็ไม่ยุ่งยากแค่มีกรอกข้อมูลส่วนตัวเรานิดหน่อย พร้อมแจ้งe-mail ของเรา แล้วทาง ThaiLis จะส่ง password กลับมาให้เราไว้ใช้ตอน login ค่ะ ส่วนนี้ไม่ยากแต่จะยากตอนเทคนิคที่จะสืบค้นให้ได้เรื่องที่ต้องการ ไว้จะเล่าให้ฟังคราวหน้านะคะ

Saturday, June 23, 2007

English for Librarians (2)

At the Serial Section
แผนกวารสารวิชาการ

Customer: Excuse me. Could you help me?
ผู้ใช้บริการ ขอโทษค่ะ รบกวนหน่อยนะคะ

Lib. : Sure. How can I help you?
บรรณารักษ์ คะ มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ

Customer: I’m looking for a TESOL journal, edition of May-July, 2001, vol. 1 but I can’t find it.
ผู้ใช้บริการ ดิฉันกำลังหาวารสาร TESOL ฉบับ เดือนกรกฎาคม 2544 วอลุ่ม 1 แต่ดิฉันหาไม่เจอค่ะ

Lib. : Okay. You should go to the ED - shelf. Look for the letters TESOL Journal shelf. They are in a seconding order and are marked from A to Z. All of the journals are over there. From Vol. I to Vol. IV of the 2001 edition.
บรรณารักษ์ ได้เลยค่ะ คุณลองเดินไปที่ชั้นวารสาร ED มองไล่ตัวอักษร A ถึง Z วารสารจะเรียงกันอยู่ตั้งแต่ วอลุ่ม ๑ จนถึง วอลุ่ม ๔ ของปี ๒๕๔๔

Customer: Can I borrow some of them?
ผู้ใช้บริการ ดิฉันจะยืมวารสารพวกนี้ได้มั้ยคะ

Lib. : I don’t think so. They are also reserved. Anyway, you are allowed to photocopy. The copiers are in the corner on the right. You can buy a photocopy card from the vending machine next to the photocopiers. Leave the journals on the trolley after doing your photocopying.
บรรณารักษ์ เกรงว่าจะไม่ได้นะคะ พวกนี้เป็นวารสารจอง แต่เราอนุญาตให้นำไปถ่ายสำเนาได้นะคะ เครื่องถ่ายเอกสารอยู่หัวมุมทางขวามือโน่น ซื้อบัตรถ่ายเอกสารได้ที่เครื่องจำหน่ายบัตรติดๆ กับเครื่องถ่ายเอกสารนั่นแหละ พอถ่ายเสร็จแล้วให้เอาวารสารไว้ในรถเข็นได้เลยค่ะ

Customer: Oh I see. I’ll try. Thanks for your advice.
ผู้ใช้บริการ เข้าใจแล้วค่ะ ดิฉันจะลองดู ขอบคุณนะคะที่ช่วยแนะนำ

Lib. : That’s OK. Don’t mention it.
บรรณารักษ์ ไม่เป็นไรค่ะ ยินดี

Customer: Bye.
ผู้ใช้บริการ กลับก่อนนะคะ

Lib. : Bye. Enjoy your reading.
บรรณารักษ์ โชคดีค่ะ ขอให้อ่านให้เพลินกับการอ่านนะคะ

English for Librarians (1)

บางครั้ง บรรณารักษ์อาจรู้สึกอึดอัดเมื่อมีชาวต่างประเทศหรือนักเรียนแลกเปลี่ยนเข้ามาใช้บริการห้องสมุด ไม่ต้องตกใจจนวิ่งหนีไปจากเคาน์เตอร์ ลองจำสถานการณ์นี้ไปใช้บ้างก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร

Borrowing Books
ยืมหนังสือ


Customer: Could you do me a favor? I’d like to borrow this book.
ผู้ใช้บริการ รบกวนหน่อยนะครับ ผมอยากจะยืมหนังสือเล่มนี้

Lib: Sure. Can I have your student ID card, please?
บรรณารักษ์ ได้เลยค่ะ ขอบัตรนักศึกษาหน่อยคะ

Customer: Here it is.
ผู้ใช้บริการ นี่ครับ

Lib: (scanning the book’s barcode)….Beeb!….
(บรรณารักษ์สแกนบาร์โค้ด)

Lib: Okay, the book must be returned by the end of this month, not later than the 31st of August. You’ll be fined 5 Bath a day for overdue book.
บรรณารักษ์ ได้แล้วค่ะ คุณต้องนำหนังสือมาคืนภายในสิ้นเดือนนี้ วันสุดท้ายวันที่ ๓๑ สิงหาคม ถ้าเกินกำหนดส่ง จะต้องถูกปรับวันละ ๕ บาท

Customer: I understand. Thanks again. See you, bye.
ผู้ใช้บริการ ทราบแล้วครับ ขอบคุณมาก ไปก่อนนะครับ
Lib. : Bye. Have a nice day.
บรรณารักษ์ โชคดีนะคะ

Friday, April 6, 2007

ห้องสมุดใกล้บ้าน


หลายคนคิดว่าต้องมีเรื่อง (ทางวิชาการนะคะ ไม่ใช่เดินไปเหยียบใคร) ถึงจะเข้าห้องสมุดได้ เราเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุดเฉยๆ ก็ได้ค่ะ ตำรวจไม่จับ จะบอกว่าประหยัดกว่าชวนแฟนไปเดินห้างอีก สำหรับตัวเองเคยทำงานให้ห้องสมุดมาเกือบสิบปี วันไหนว่างก็จะไปห้องสมุด ด้วยหลายเหตุผล เช่น ไปดูเทคโนโลยี ทดลองใช้ระบบบริการต่างๆ ดูการให้บริการของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เดินใช้ห้องสมุดในแบบผู้ใช้ จะได้ฟังเสียงของคนใช้ห้องสมุดว่าเขาพูดถึงห้องสมุดที่เขาใช้อยู่ว่าอย่างไร จริงๆ คือไปเก็บข้อมูลจะได้มาบอกเล่าให้นักศึกษาฟัง (เป็นอาจารย์ต้องหูตากว้างขวาง จะว่าตามตำราทื่อๆ ไม่ได้) ห้องสมุดใกล้บ้านที่ไปบ่อยตอนนี้คือ หอสมุดป๋วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต http://library.tu.ac.th/ ช่วยค่าบำรุงห้องสมุด 20 บาท เข้าๆ ออกๆ ได้ทั้งวัน แนะนะให้ตรวจวัน เวลา เปิดบริการ ก่อนไปนะคะ โดยเฉพาะช่วงปิดเทอม ส่วนตัวเองชอบไปตอนปิดเทอมอย่างนี้แหละค่ะ นักศึกษาไม่มาก หนังสือไม่ค่อยมีคนยืมออก ถ่ายเอกสารก็ไม่ต้องรอนาน บรรณารักษ์กับเจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่นี้น่ารักมาก (รุ่นพี่หลายคนให้การต้อนรับอย่างดี) มีหนังสือดีๆ รูปสวยๆ บางเล่มราคาแพงมาก (เงินเดือนอาจารย์ซื้อไม่ได้เด็ดขาด) ยังเคยได้สูตรทำสลัดจากนิตยสารฝรั่งเลยค่ะ

Monday, April 2, 2007

หลากหลายแนวคิดเกี่ยวกับบรรณารักษ์

สิบกว่าปีผ่านมาเวลาที่บอกใครว่าเป็นบรรณารักษ์ 8 ใน 10 คน จะมองด้วยสายตาแปลกๆ (คิดเอาเองว่าเค้าคงไม่เคยเห็นบรรณารักษ์น่ารักอย่างนี้มาก่อน) อาชีพนี้คงมีคนน้อยคนเกิดมาคิดจะเป็น ตัวเองก็เหมือนกันไม่เคยคิดเลยและที่ได้มาเป็นเรียนทางนี้เพราะคุณพ่อบอกให้เรียนมีเหตุผลประกอบว่าในอนาคตการจัดการข้อมูลข่าวสารจะเป็นเรี่องสำคัญ (คุณพ่อพูดไว้ตั้งแต่ปี 2532 แล้วนะคะ) ช่วงนั้นนักศึกษาที่สอบติดคณะศิลปศาสตร์ มธ. ส่วนมากต้องการเลือกเรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษ แต่ถ้าคะแนนไม่ถึงก็มาเลือกวิชาเอกภาษาวรรณคดีอังกฤษ แต่ผลสุดท้ายแล้ววิชาเอกที่มีคนเรียนกันมากก็เป็นประวัติศาสตร์ ชั้นปีหนึ่งเกือบร้อยคนได้ ส่วนวิชาเอกบรรณารักษ์แทบไม่มีคนเลือกเรียนเลยสี่ชั้นปีรวมกันยังไม่ถึง 30 คนเลยค่ะ เพื่อนที่เรียนกันมา 7 คนจบแล้วทำงานเป็นบรรณารักษ์ถึงปัจจุบันมี 3 คน นอกนั้นไปเป็นเลขานุการหรืออาจทำงานอย่างอื่นอีกไม่แน่ใจ
การเรียนวิชาบรรณารักษ์หลายคนไม่สัมผัสคงคิดว่าน่าเบื่อหรือไม่มีอะไรตื่นเต้น แต่จริงๆ แล้วกลับมีเรื่องใหม่ให้เรียนรู้ทุกวัน การเรียนรู้ที่ว่านี้ไม่ใช่วิชาการทางบรรณารักษ์นะคะ แต่รู้เรื่องอื่นๆ ทั่วไป เพราะหนังสือคือขุมทรัพย์ความรู้ขนาดใหญ่ของโลก สนุกที่ได้รู้ว่าจะแก้ปัญหาหลายอย่างได้โดยหาคำตอบจากหนังสือ